classic motorcycle in thailand (มอเตอร์ไซด์คลาสสิกในประเทศไทย)
แหล่งรวมของคนชอบรถคลาสสิก และสนใจอยากรู้เกี่ยวกับรถคลาสสิก
วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556
รถคลาสสิก รุ่น C-100 (Classic car models. c-100)
c-100 เดิม (Old)
c-100 แต่งชุปสวย (Author)
ประวัติ C100
ใน ปัจจุบันมีบริษัทผู้ผลิตรถจักรยานยนต์มากมาย ซึ่งในบริษัทผู้ผลิตรถที่มีชื่อเสียงเหล่านั้น คงไม่มีใครที่ไม่รู้จักผลิตภัณฑ์ภายใต้ชื่อ ฮอนด้า แน่นอน ฮอนด้าเปิดสายการผลิตรถจักรยานยนต์ มาตั้งแต่อดีต มีการผลิตรถจักรยานยนต์ออกมามากมายหลายรุ่น ด้วย เทคโนโลยีที่เก้าทันกระแสการ เปลี่ยนแปลงของโลกตลอดเวลา แต่มีรถจักรยานยนต์ โมเดลหนึ่งซึ่งทุกคนอาจมองข้ามไปนั้น คือการผลิตของรถโมเดล Super CUP นั่นเอง สายการผลิตของรถจักรยานยนต์ในโมเดลนี้ มีจำนวนทั้งสิ้นมากกว่า 35 ล้าน คัน แล้วในปัจจุบันในช่วงปี 1959 – 1962 มีเปิดตัวสายการผลิต ครั้งแรกในรุ่น Honda c100 อย่างเป็นทางการ ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ปี2002 บริษัท Honda Moter โมเดล Super CUP co.,Ltd มีการเช็คจำนวนผลิตภัณฑ์ ทั้งหมดสำหรับ อีกครั้ง พบว่าในช่วงเวลา 44 ปีที่ผ่านมา สายการผลิต ของรถโมเดลนี้มีจำนวนมากถึง 35 ล้านคันแล้วนับจากสาม เดือนแรกที่มีการ จัดจำหน่ายสู่ท้องตลาดอย่างเป็นทางการในปี 1958 สายการผลิตในช่วงแรกของ Super CUP นั้นมีการออก แบบ และพัฒนาขึ้นโดยตรงจากฝีมือของนาย Soichiro Honda ผู้บริหารระดับสูงหรือเจ้าของบริษัทฮอนด้านั่นเอง โดยได้แนว ความคิด ในการออกแบบรถจักรยานยนต์สายพันธ์ใหม่นี้มาจากการควา มเอนกประสงค์ ของรถสกุตเตอร์ที่ทุกคน ในสมัยนั้นต่าง ก็ยอมรับในความสามารถรอบตัวของมัน เครื่องยนต์ของรถสกุตเตอร์ในสมัยนั้นแทบทั้งหมดจะเป็ น เครื่องยนต์แบบสองจังหวะ แต่สำหรับฮอนด้าโมเดล the Super CUP แล้วมีการปรับปรุงรูปแบบใหม่ด้วยการใช้เครื่องยนต์แบ บสี่จังหวะสมรรถภาพสูง 50ซีซี เข้ามาติดตั้งแทน ซึ่งเครื่องยนต์แบบนี้โดดเด่นมากกว่าของกำลังที่ ได้ความประหยัดเชื้อเพลิงที่สูงกว่า อีกทั้งยัง มีความทนทาน กว่าเครื่องยนต์สี่จังหวะ อย่างเห็นได้ชัด ในด้านของรูปลักษณ์ภายนอกมีการออกแบบให้ตัวรถ อยู่ในระดับต่ำเช่นเดียวกับ รถสกุต เตอร์แต่มีการออกแบบโครงสร้างตัวถังเป็นแบบ backbone frame แทน เพื่อให้ง่ายต่อการติดตั้งและ การถอดออกของ บังลม ด้านหน้า ซึ่งออกแบบมาเพื่อป้องกันโคลนสิ่งสกปรก และลม มาประทะขาของผู้ขับขี่ ที่สำคัญโครงสร้างตัวถังแบบนี้ยังเป็น วัตกรรม ใหม่ล่าสูดในสมัยนั้นอีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
บทความใหม่กว่า
บทความที่เก่ากว่า
หน้าแรก
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น